โรคกระดูกทับเส้นประสาท จำเป็นต้องผ่าหรือไม่ ?
คนไข้บางท่าน กลัวการผ่าตัดมากๆ แค่คิดว่าต้องขึ้นเขียง ก็รู้สึกกลัวแล้ว หมอเข้าใจดีครับ …
บทความน่ารู้ เกี่ยวกับ กระดูกและข้อ
คนไข้บางท่าน กลัวการผ่าตัดมากๆ แค่คิดว่าต้องขึ้นเขียง ก็รู้สึกกลัวแล้ว หมอเข้าใจดีครับ …
สวัสดีครับ สำหรับบทความนี้ จัดอยู่ในหมวดหมู่ ให้เหตุผลว่า เหตุใด “ผู้ป่วยเจ็บนิดๆ หน่อยๆ หรือมีอาการปวดแบบไม่รู้สาเหตุ ถึงจำเป็นต้องเข้ารับการ เอกซเรย์กระดูก ( X-RAY ) “ นั่นไม่ใช่เป็นเพราะหมออยากได้เงินค่าบริการเพิ่มเติมในส่วนนี้ หรอกนะครับ แต่แท้ที่จริงแล้ว การที่หมอร้องขอให้ผู้ป่วยทำการ เอกซ์เรย์ เพิ่มเติม นอกเหนือจาก การตรวจวินิจฉัยจากการซักประวัติเบื้องต้น แล้ว ยังไม่สามารถ “ระบุให้แน่ชัดลงไปได้” ว่าเจ็บป่วยเป็นโรคอะไร นั่นเองครับ … (เพิ่มเติม…)
โรคเก๊าท์ ก็คือ โรคข้ออักเสบ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เรามีภาวะของกรดยูริกในเลือดสูงเกินไป
…. และ เมื่อปริมาณกรดมาก ก็ทำให้เกิดการตกผลึก และสะสมอยู่บริเวณข้อต่อต่างๆ จนเกิดอาการบวม แดง และปวดตามมา
ผู้ป่วยที่มี อาการปวดไหล่ อยู่บ่อยๆ ทานยาแก้ปวด ก็ไม่หายเสียที ความปวดยังคงอยู่ บางทีรู้สึกยกไหล่ได้ไม่สุด ยกได้ไม่เต็มที่ ให้สันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่า อาจจะเป็นอาการของ เอ็นไหล่ขาด (เพิ่มเติม…)
เคยเจอปัญหานี้กันไหมครับ…โรคข้อเข่าเสื่อม โดยเฉพาะในกลุ่ม สว. ( ผู้สูงวัย) แต่หัวใจยังเอ๊าะๆ เป็นสาวสองพันปี หนุ่มสี่หมื่นปี ไฮไลท์ผมสองสี หรือบางครั้งอินเทรนด์ผมสีดอกเลาสีเดียว อายุอานามราวๆ 16-17-18 ปี (กรุณากลับตัวเลข ด้วยครับ) 🙂
“เดอกาแวง” (De Quervian Disease) คือ โรคปลอกหุ้มเอ็นนิ้ว อักเสบ ( หัวแม่มือ , นิ้วโป้ง) อาการเบื้องต้น ผู้ป่วยจะปวดบริเวณข้อมือ บริเวณด้านฝั่งนิ้วหัวแม่โป้ง และจะมีอาการปวดมากขึ้นหากต้องบิดข้อมือ , กำหมัด หรือใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวัน
วันนี้ หมอสุนทร ขอแนะนำโรคยอดฮิตโดยเฉพาะ คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก และคนที่ประกอบอาชีพที่ต้องใช้ข้อมือเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น เชฟประจำร้านอาหาร , แม่ค้าที่ต้องสับเนื้อบ่อยๆ พนักงานออฟฟิศที่ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้เมาส์ อย่างมากมาย ชาวสวนยางที่ต้องกรีดยาง ฯลฯ (เพิ่มเติม…)
วันนี้ หมอขอนำเสนอ เคสคนไข้ โรคนิ้วล็อค เป็นหญิงสาววัย 17 ขวบ (แต่จริงๆอายุตึงๆ ลองกลับเลขดูก็คือ 70 ปี นั่นเองครับ) คุณป้าท่านนี้มีอาชีพเป็นแม่บ้านและ อยู่ไม่นิ่งระดับเทพ !!!
ด้วยความจำเป็นของอาชีพ และหน้าที่การงาน คุณป้าจึงมักจะ ทำงานบ้าน สม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็น ถูบ้าน , ปัดกวาดเช็ดถู ,ซักผ้า (ด้วยมือ) , ทำกับข้าว , ทำสวน จนกระทั่งถึงวันหนึ่ง คนไข้เริ่มมี อาการปวด บริเวณโคนนิ้วด้านฝ่ามือ โดยรู้สึกปวดตึง และจะปวดมากขึ้น เมื่อเวลาเคลื่อนไหวและใช้งานนิ้วนั้นๆ โดยจะรู้สึกปวดตึง ฝืด จนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ (เพิ่มเติม…)
You must be logged in to post a comment.