การรักษา หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โดย “ไม่ผ่าตัด” ตอน 3
การฉีดยาต้านการอักเสบเข้าโพรงเส้นประสาทไขสันหลัง สำหรับผู้ป่วย หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ที่ไม่ตอบสนองการรักษาโดยวิธีการทานยา , พักการใช้งานอย่างเต็มที่ , กายภาพบำบัด , ฉีดยาแก้ปวดเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าเส้นเลือด แล้วยังไม่ดีขึ้น ทางการแพทย์ ใช้คำว่า “ Fail Conservative treatment”
การฉีดยาต้านการอักเสบเข้าโพรงเส้นประสาทไขสันหลัง (Epidural Steroid Injection) เป็นการรักษามาตราฐาน ทางการแพทย์ มีใช้กันแพร่หลาย ทุกโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลชั้นนำ โดยเหมาะสำหรับกลุ่มโรค ดังต่อไปนี้
- โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท [ Disc Herniation]
- กระดูกสันหลังเสื่อม [ Spinal Spondylosis ] หรือ กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท [ Spondylolithesis ]
- โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ [ Spinal Stenosis ]
- กลุ่มอาการปวดสะโพก ร้าวลงขา [ Sciatic Pain ] จากสาเหตุอื่นๆ
เนื่องจาก ปัญหาของโรคเหล่านี้ ภายในจะมีการกดทับเส้นประสาท จนเกิดการอักเสบรุนแรง และจะแสดงอาการ เช่น ปวดร้าวเสียวๆ หรือ ชาลงขา ปวดเหมือนโดนไฟฟ้าช็อต ( ของตัวหมอเองปวดเหมือนมีดมาปักขาเลยครับ 555 ) การฉีดยาวิธีนี้ หลักการ เป็นการนำตัวยาต้านการอักเสบ เข้าสู่ช่องว่างเหนือเส้นประสาทไขสันหลัง [ Epidural Space ] ซึ่งเข้าสู่จุดที่มีปัญหาโดยตรง ส่วนใหญ่แล้ว หมอจะเลือกวิธีการรักษาชนิดนี้ เมื่อผู้ป่วยไม่ตอบสนองการรักษาโดยวิธีการทานยา , พักการใช้งานอย่างเต็มที่ , กายภาพบำบัด , ฉีดยาแก้ปวดเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าเส้นเลือด แล้วยังไม่ดีขึ้น ทางการแพทย์ ใช้คำว่า “ Fail Conservative treatment”
หมอหวังผลลดอาการปวดเป็นหลักนะครับ
และจะช่วยให้ควบคุมอาการดีขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น
ซึ่งปกติแล้ว คนไข้ต้องผ่านกระบวนการรักษา ด้วยการพักการใช้งาน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรรม และการใช้ยา 6 – 8 สัปดาห์ ก่อนนะครับ แล้วค่อยเลือกวิธีนี้ (อย่าใจร้อน หมอชอบรักษาตาม Step ครับ ) ผลการรักษาโดยวิธีนี้ หมอหวังผลลดอาการปวดเป็นหลักนะครับ และจะช่วยให้ควบคุมอาการดีขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น หลายๆ เคส สามารถเลี่ยงการผ่าตัดได้เลยครับ แต่ไม่ใช่ทำให้หายขาดนะครับ ไม่มีการรักษาใดๆ ในปัจจุบันที่ทำให้หายขาด 100 % นะครับ บางเคสขนาดผ่าตัดไปแล้วก็ยังมีอาการหลงเหลือได้นะครับ ในอดีต เวลาฉีดยาวิธีนี้ จะใช้ตำแหน่งทางกายวิภาค คลำแนวกระดูกสันหลัง แล้วกำหนดจุดฉีดยาที่กระดูกสันหลังระดับเอว (ที่เดียวกันกับเวลาหมอดมยาสลบใช้บล็อกหลังเพื่อเตรียมการผ่าตัดนั่นแหละครับ) ซึ่งใช้ ความรู้สึกล้วนๆ ซึ่งมีโอกาส ฉีดเข้าบ้าง ไม่เข้าบ้าง ได้ครับ
ปัจจุบัน ในต่างประเทศ เขามีวิธีฉีดโดย ใช้ Ultrasound นำวิถี ครับ เรียกว่า Ultrasound – guided Epidural Injection ซึ่งช่วยทำให้หมอ กำหนดจุดฉีดได้แม่นยำ สามารถมองเห็น ตำแหน่งของเข็ม และตัวยาขณะฉีดยา
แน่นนอนครับ ที่คลินิกหมอ ก็ใช้ เครื่องอัลตร้าซาวนด์นำวิถี ในการฉีดยา ประเภทนี้ เช่นกันครับ ผลการรักษา แต่ละเคสไม่เหมือนกันนะครับ ขึ้นกับ ว่า เป็นโรคอะไร ? เป็นมากแค่ไหน ? พฤติกรรมการใช้งานเยอะหรือไม่ ? ….. ส่วนใหญ่แล้วหากตอบสนองการรักษาได้ดี อาการจะทุเลา ได้หลายเดือน หรือเป็นปีๆ เลยครับ
หมอเชื่อว่า ไม่มีใครอยากโดนผ่าตัด แน่นอนครับ
หมอสุนทร เข้าใจคนไข้ โรคเหล่านี้สุดๆครับ … ฮาาา
( ปล. ใคร งง ให้กลับไปอ่านเรื่อง ปวดหลัง นะครับ )
คำอธิบายจากภาพA .การใช้เครื่องอัลตร้าซาวนด์ นำวิถี ทิศทาง เข็มฉีดยา
B. เข็มฉีดยา (ลูกศรสีขาว) ทิศทางจากมุมขวาด้านบน ลอดผ่านเข้าสู่โพรงกระดูกสันหลัง
ภาพแสดง การฉีดยาต้านการอักเสบ
เข้าสู่โพรงกระดูกสันหลัง เข้าสู่ บริเวณ ที่มีการอักเสบ
วิดีโอ สัมภาษณ์ คุณปราณีต ( สาวสวยจาก จ.ปัตตานี )
ผู้ป่วยที่รับการรักษาโดย วิธีนี้ครับ……
ผู้ป่วยได้รับการรักษาวิธีนี้ ที่คลินิกกระดูกและข้อหมอสุนทร เป็นโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท มีอาการ เป็นๆ หายๆ มา ประมาณ 10 ปี อาการไม่หนักมาก ทานยาแล้วควบคุมอาการได้ แต่ 3 เดือนก่อนมารักษา เริ่มมีอาการปวดหลังร้าวลงขามาก
เดินเข้าห้องน้ำก็ยังปวด หลายๆครั้ง แทบนอนติดเตียง มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง เดินได้ไม่ไกล คุณป้าไปตรวจมากับหมอกระดูกมากมาย หลายๆท่านแนะนำให้ผ่าตัด แต่คุณป้าได้เลือกมารับการรักษากับหมอ หมอได้ฉีดยาเข้าโพรงเส้นประสาท ไปทั้งหมด 3 ครั้ง (แต่ละครั้ง เว้นช่วงประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ ) อาการค่อยๆดีขึ้น ตามลำดับ โดยหลังจาก ฉีดยาครั้งที่ 3 อาการดีขึ้น 80 % สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ เริ่มทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆ ได้ครับ (ตอนนี้ป้าเริ่มไปเที่ยวต่างจังหวัดแล้วครับ 555 ) และกระบวนการการรักษา ทั้งหมดจะเปลี่ยนไปใช้ในรูปแบบยากิน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครับ ไม่จำเป็นต้องฉีดยาเข้าโพรงเส้นประสาทแล้วครับ ทุกเคสต้องใช้เวลานะครับ ต้องขอเวลา ให้ยาปรับสภาพภายใน ค่อยเป็นค่อยไป
หมอขอขอบคุณ คุณป้าปราณีตและญาติๆไว้เป็นอย่างสูงครับ
ที่อนุญาต ให้บันทึกภาพ และเผยแพร่ เพื่อเป็นความรู้และเป็นวิทยาทานแก่ ผู้ป่วยรายอื่นๆ ครับ
โดย นายแพทย์สุนทร ศรีสุวรรณ์ (เกียรตินิยม )
คลินิกหมอสุนทร กระดูกและข้อ อำเภอหาดใหญ่
แชร์ ให้คนที่คุณรัก
You must be logged in to post a comment.